วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปณิตา โพธิ

อินทิรา  คานธี   ( Indira  Gandhi )


ทายาททางการเมืองหญิงของนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศอินเดีย ผู้ที่ขึ้นมากุมอำนาจในการบริหารบ้านเมืองของประเทศอินเดีย และเป็นผู้พลิกโฉมหน้าประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในอนาคต อินทิรา คานธี ชื่อของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และคนเดียวของอินเดียที่ถูกลอบสังหาร แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด ชื่อของสตรีทรงอิทธิพลและชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของโลกกลับยังอยู่ในหัวใจของชนอินเดียไม่เสื่อมคลาย

นางอินทิรา คานธี หรือชื่อเดิมว่า อินทิรา ปรียาทาสินี เนรูห์ เป็นธิดาเพียงคนเดียวของอดีตนายกรัฐมนตรีคน แรกของอินเดียหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ เยาว์หราล เนรูห์และนาง กามาลา คอล  เธอเกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2460 อินทิราเกิดและ เติบโตที่ เมืองอัลฮาบัดซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย เมื่อเจริญวัย เธอได้ย้ายไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นบางครั้งเพราะแม่ของเธอต้องไปพักฟื้นรักษาโรคที่นั่น  นางอินทิราได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนปาถะ ภวนะ (Patha Bhavana) ในศานตินิเกตัน รัฐเบงกอลตะวันตก ซึ่งก่อตั้งโดยมหากวีรพินทรนาถ ฐากูร โดยเปิดสอนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 นางสามารถสอบเข้าเรียนที่วิทยาลัยซอมเมอร์วิลล์ (Sommerville College) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ แต่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 

นางอินทิราได้แต่งงานกับนายเฟโรส คานธี (Feroze Gandhi – ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดใดๆ กับมหาตมะ คานธี) นักการเมืองชาวปาร์ซี (Parsee) จากมุมไบ ซึ่งได้พบในช่วงการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลอาณานิคมที่วิทยาลัยคริสเตียนเอวิก (Ewig Christian College) ในเมืองอัลลาฮาบาด (Allahabad) รัฐอุตตรประเทศ 


นางอินทิราเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองตั้งแต่สมัยที่มีต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ โดยเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงรัฐบาลอาณานิคมครั้งต่างๆ และในช่วงหลังอินเดียได้รับเอกราชและอยู่ภายใต้การนำของเยาว์หราล เนรูห์ อินทิราก็ได้ทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัวให้เนห์รู ภายหลังการถึงแก่อาสัญกรรมของเนห์รูในปี ค.ศ. 1964 นางได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกราชยสภา และในสมัยรัฐบาลของนายลาล บะฮาดุร์ ศาสตรี (Lal Bahadur Shastri) นายกรัฐมนตรีคนที่สองของอินเดีย ก็ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการออกอากาศ (The Ministry of Information and Broadcasting)นายลาล บะฮาดุร์ ศาสตรี (Lal Bahadur Shastri)  ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ หลังการตายของเขา ทำให้มีคู่ต่อสู้ ที่จะมาชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากมาย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกันจึงเลือกอินทิรา โดยต่างคิดว่าเธอคงจะไม่ประสาเรื่องการเมืองมากนัก และคงจะเป็นหุ่นเชิดได้ตามที่พวกเขาต้องการ ทว่าทุกอย่างก็ไม่ได้เป็นไปตามที่พวกเขาวาดฝัน เมื่ออินทิราคนนี้ไม่ได้ เป็นเพียง “ goongi gudiya ”หรือ ตุ๊กตาน่าโง่อินทิราได้แสดงให้พวกเขาเห็นถึงทักษะทางการ เมืองที่เธอได้รับมรดกมาจากผู้เป็นพ่อด้วยการพยายามปกครองอินเดียด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จ

นางอินทิรา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของอินเดียในปี ค.ศ. 1966 – 1970 และได้รับเลือกตั้งอีกสองสมัยติดกันในระหว่างปี ค.ศ. 1970 – 1974 และระหว่างปี ค.ศ. 1974 – 1977 นอกจากนี้ยังได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกครั้งในระหว่างปี ค.ศ. 1980 – 1984 
นางอินทิรา เธอขึ้นแท่นเป็นนายก ฯ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเมื่ออินเดียชนะสงครามต่อต้านปากีสถานในปี ค.ศ.1971
นางอินทิราดำเนินนโยบายที่เทียบได้กับการปฎิวัติสีเขียวในอินเดีย ซึ่งได้เปลี่ยนอินเดียจากประเทศผู้รับความเหลือด้านอาหารเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร โดยการอนุมัติโครงการปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีอยู่และพัฒนาพันธุ์พืชใหม่เพื่อสร้างความหลากหลายในการบริโภค นอกจากนี้ยังได้เพิ่มปริมาณการผลิตนม รวมถึงผลิตภัณฑ์ข้างเคียง จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า การปฏิวัติสีเขียว (Green Revolution) 
ในปี ค.ศ. 1974 อินเดียประสบความสำเร็จในการทดลองโครงการนิวเคลียร์เป็นครั้งแรก ภายใต้รหัสลับว่า พระพุทธเจ้าแย้มพระโอษฐ” (Smiling Buddha) ซึ่งได้การสนับสนุนอย่างจริงจังและเปิดเผยจากนางอินทิรา โดยสถานที่ทดลองอยู่บริเวณใกล้หมู่บ้านโปขรัน (Pokhran, Pokaran) ในทะเลทรายธาร์ (Dhar Desert) เมืองไจซัลเมอร์ รัฐราชสถาน ใกล้พรมแดนอินเดีย ปากีสถาน การทดลองครั้งนี้ได้รับการคัดค้านจากปากีสถานอย่างมาก เนื่องจากมองว่าเป็นความพยายามคุกคามความมั่นคงของปากีสถาน  นางอินทิรา ดึงธนาคารเข้ามาเป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อลดผลกระทบของอินเดียที่มีต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน รวมทั้งยุบรวมรัฐอินเดียเก่า ๆ ที่ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย พร้อมนำแดนโรตีเข้าร่วมสมาชิกประเทศที่มีนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง และนำอินเดียก้าวกระโดดครั้งใหญ่เข้าสู่งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในปี ค.ศ. 1975 นางอินทิราได้ถูกศาลสูงศาลสูงแห่งเมืองอัลลาฮาบาดพิพากษาถอดถอนออกจากตำแหน่งและห้ามการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาหกปี จากคดีทุจริตการยักยอกทรัพยากรของรัฐไปใช้ในเลือกตั้งปี ค.ศ. 1971 อย่างไรก็ตาม นางได้ปฏิเสธคำพากษาของศาลสูงดังกล่าว และได้ยื่นอุธรณ์ต่อศาลฏีกาของอินเดีย ในขณะเดียวกันก็ยังยืนยันที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ส่งผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงอย่างกว้างขวาง จนในที่สุด นางได้เสนอให้ประธานาธิบดีฟาครุดดิน อะลี อาเหม็ด (Fakhruddin Ali Ahmed) ประกาศสภาวะฉุกเฉิน (The State of Emergency) ระหว่างปี ค.ศ. 1975 – 1977 โดยอาศัยอำนาจจากมาตรา 352 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ภายใต้สภาวะดังกล่าวนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ โดยนางได้ใช้อำนาจดังกล่าวในการจับกุมผู้ประท้วงและผู้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลกลางเป็นจำนวนมากโดยไม่ได้ต้องผ่านศาล รวมถึงตรวจจับสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับรัฐบาล ส่งผลให้เมื่อสภาวะฉุกเฉินถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1977 รัฐบาลของเธอพ้ายแพ้แก่พรรคชนตา (Janata Party) ซึ่งเป็นพรรคต้นแบบของพรรคภารตียะ ชนตา (Bharatiya Janata Party – BJP) ในปัจจุบัน และตัวนางเองก็ถูกจับกุมในเวลาต่อมา 
ในปี ค.ศ. 1980 นางอินทิรา ได้รับความนิยมกลับคืนมาอีกครั้ง และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 4 โดยในช่วงนี้ได้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มชาวซิกข์ที่ต้องการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐซิกข์ขึ้นมาในอินเดียเหนือ ในอาณาบริเวณตั้งแต่รัฐปัญจาบ พื้นที่บางส่วนของรัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ ดินแดนสหภาพจันฑีครห์ และรัฐราชสถาน โดยข้อเรียกร้องเหล่านี้บรรจุอยู่ในมติอานันทปุระ สาหิพ (Anandapur Sahib Resolution) ซึ่งถูกรัฐบาลกลางมองว่าเป็นความต้องการแบ่งแยกดินแดนของชาวซิกข์ ส่งผลให้นางอินทิรา สั่งการให้กองทัพอินเดียบุกเข้าจับกุมและปราบปรามแกนนำชาวซิกข์ในวิหารหริมันทีร์ หรือวิหารทองคำอันศักดิ์สิทธิ์ ในเมืองอมฤตสาร์ ยังผลให้นายสันต์ จรเนล สิงห์ ภินทราวาเล (Sant Jarnail Singh Bhindrawale) ผู้นำชาวซิกข์ ถูกสังหาร และอกาล ทัคต์ สถานที่ปฏิบัติการกิจกรรมทางโลกของศาสนาซิกข์ ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังสั่งการให้มีการตัดระบบการสื่อสารทั้งหมดในรัฐปัญจาบ ปฏิบัติการครั้งนี้เรียกว่า ปฏิบัติการดาวสีฟ้า (Operation Blue Star) นอกจากนี้ปฏิบัติการครั้งนี้ทำให้เกิดการต่อต้านจากชาวซิกข์ทั่วทุกมุมโลกและยังเป็นชนวนให้นางอินทิรา คานธี ถูกลอบสังหารโดยองครักษ์ชาวซิกข์2 คนในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1984 ที่บ้านพักของเธอเององครักษ์คนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนอีกคนหนึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปี 2531 ส่วนนางอินทิรา คานธีนั้นเสียชีวิตหลังจากที่ถูกส่งตัวไปถึงโรงพยาบาล AIIMS - All India Institute for Medical Sciencesในกรุงนิวเดลีไม่นาน แต่เหตุการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อหลังจากการเสียชีวิตของเธอได้เกิดกระแส ต่อต้านชาวซิกข์อย่างรุนแรง ทำให้ชาวซิกข์บริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตไปเกือบ 2,000 คน



       อินทิราปกครองอินเดียได้นานถึง 16 ปี ดังนั้นชีวิตของเธอจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์อินเดียยุคใหม่ นิยายชีวิตของนักการเมืองหญิงคนนี้ได้ปิดฉากลงเมื่อเธอถูกลอบสังหารโดยบอดี้การ์ดสองคนของเธอเอง ขณะที่อายุได้ 62 ปี
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ สำหรับชาวอินเดียส่วนใหญ่ นางอินทิรายังคงเป็นบุคคลสำคัญที่มีแนวคิดก้วหน้าและมีอุดมการณ์ ขณะที่บ้านพักของเธอในกรุงเดลี ที่ซึ่งเธออาศัยและถูกยิงเสียชีวิต ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นอนุสรณ์สถานที่สามารถเรียกผู้เข้าชมได้มากถึงวันละ 1 หมื่นคน โดยภายในบ้านพัก ห้องแต่ละห้องก็จะเต็มไปด้วยภาพถ่ายและรางวัลมากมาย รวมทั้งผ้าส่าหรีเปื้อนเลือดที่เธอใช้สวมใส่ในวันที่ถูกยิงเสียชีวิตด้วย
ยุคของเธอก็ทำให้อินเดียตกอยู่ในช่วงเวลาแห่งการใช้กฎหมายอย่างทารุณ และการบริหารประเทศอย่างเข้มงวดจนทำให้การบริหารบ้านเมืองและเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างลำบาก ส่วนงานด้านระหว่างประเทศ อินทิราเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่งผู้กล้าต่อกรกับสหรัฐอย่างไรก็ดี ความแข็งแกร่งที่สุดของเธอกับอยู่ในความสามารถที่จะเข้าถึงคนยากจน ที่ฝ่ายตรงข้ามวิจารณ์ว่าเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมืองเท่านั้นและด้วยมรดกที่อินทิราทิ้งไว้ให้ ทุกวันนี้บรรดาแกนนำพรรคคองเกรส ก็ยังคงเดินหน้าหาเสียงโหวตจากพื้นที่ชนบทในชื่อ "อินทิรา อัมมา" หรือ "แม่อินทิรา" โดยบ้านหลายหลังทางตอนใต้ของประเทศถึงกับสักการะเธอไปพร้อม ๆ กับสิ่งบูชาในศาสนาด้วย


และเธอยังได้เป็นที่กล่าวขวัญว่าเป็นผู้นำทาง การเมืองที่มีความ อดทน น่ากลัว และฉลาด หลักแหลมที่สุด